บทความที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ลักษณะนิสัยและพฤติกรรมต่าง ๆ ของกวาง



ลักษณะที่บ่งบอกถึงสุขภาพกวางที่สมบูรณ์แข็งแรง สังเกตจากขนตามลำตัวมันเงา เรียบ ไม่กระด้างและตั้งชัน ดวงตาแจ่มใส จมูกชื้น มูลเป็นเม็ดไม่มีกลิ่นไม่มีมูกเลือด ปัสสาวะใสไม่มีสีชา เดินไม่กระโพลกกระเพลก เดินตัวไม่แข็งทื่อ เดินถูกท่าเดิน ขาไม่ปัด เวลานั่งพักผ่อนมีการขยอกอาหารมาเคี้ยว (เคี้ยวเอื้อง) ไม่แยกตัวออกจากฝูง ร่างกายภายนอกไม่ผอมผิดปกติ ปกติกวางจะยืนได้ตลอด หากนอนก็จะลุกขึ้นทันทีเมื่อมีคนหรือสัตว์เข้าใกล้ กวางที่ไม่สบายจะไม่ลุกหรือพยายามที่จะลุกแต่ลุกไม่ขึ้น การหายใจปกติ ไม่หอบหรือไอ หากพบว่ากวางผิดปกติไม่สบายให้รีบแยกกวางออกไปดูแลเลี้ยงรักษาที่คอกรักษา

การทำให้กวางเชื่อง ด้วยการที่ผู้เลี้ยงเข้าคอกกวางทำความสะอาด การให้อาหารการป้อนอาหารด้วยมือและการพูดจาอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน จะทำให้กวางเชื่องได้เร็วเพราะว่ากวางมีความจำที่ดีเมื่อกวางเชื่อง การจัดการทุกอย่างจะสะดวก กวางไม่เครียด การเจริญเติบโต และผลผลิตที่ได้รับก็จะดีตามไปด้วย

การระวังภัยเมื่อกวางได้ยินหรือเห็นสิ่งแปลกปลอม จะชูคอหันหน้าและใบหูทั้ง 2 ข้างไปยังทิศทางที่ได้ยินหรือเห็น หางจะชี้ขึ้น ยืนนิ่งเงียบ เมื่อไม่แน่ใจจะใช้ขาหน้าจิกกับพื้นอย่างรุนแรง 2-3 ครั้ง จากนั้นจะส่งเสียงร้องแหลมดังขึ้น ถ้าอยู่กันหลายตัวจะไปยืนรวมกัน (ผู้เลี้ยงสังเกตเห็นพฤติกรรมนี้ให้รีบเข้าตรวจดูเพื่อป้องกันไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาเช่น คน สุนัข ตะกวด งู ฯลฯ) เมื่อมีตัวใดตัวหนึ่งตื่นและวิ่งจะทำให้กวางตัวอื่นทั้งหมดวิ่งตาม

การโกรธ ทำร้าย และต่อสู้ กวางจะกัดฟันเสียงดังกรอด ๆ ร่องใต้ตาทั้งสองข้างเบิกลึกกว้างพร้อมกับเดินส่ายหัวเข้าหาศัตรูอย่างช้า ๆ ก้มหัวลงเพื่อให้ปลายเขาหน้าชี้เข้าหาศัตรู พร้อมที่จะใช้ปลายเขาชน หรือพุ่งกระโจนเข้าทิ่มแทง การแทงมีทั้งการพุ่งตรง หรือสะบัดไปทั้งซ้ายและขวา เมื่อพบพฤติกรรมเช่นนี้ คนเลี้ยงควรถอยออกห่างก่อน หรือพบพฤติกรรมเช่นนี้ กับกวางด้วยกันควรรีบหาทางแยกออกจากกัน หรือไม่ก็ทำการตัดเขาแก่ทิ้ง เพื่อป้องกันการสูญเสียจากการต่อสู้
การผลัดเขา (Casting) ของกวางโดยทั่วไปจะอยู่ในช่วงกลางของปี (เมษายน-กันยายน) และเขาก็จะเริ่มงอกใหม่จนเขาแข็งสมบูรณ์ใช้ระยะเวลาประมาณ 5-6 เดือน ซึ่งจะอยู่ในช่วงเข้าสู่ฤดูหนาวเป็นช่วงที่เข้าสู่ฤดูกาลผสมพันธุ์ ในระยะนี้กวางตัวผู้จะมีกลิ่นตัวฉุน เนื่องจากต้องขับกลิ่นสารออกมา ตัวผู้จะมีการต่อสู้เพื่อควบคุมฝูง เพื่อการผสมพันธุ์ บางครั้งตัวผู้ที่สู้ไม่ได้อาจได้รับบาดเจ็บจนถึงตายจากการถูกเขาแทง ดังนั้นในช่วงฤดูนี้ควรมีการตัดเขากวางตัวผู้ในฝูงเพื่อลดการสูญเสียกวางและป้องกันการบาดเจ็บของคนเลี้ยงในขณะปฏิบัติงาน

พ่อพันธุ์กวางที่ดีที่ใช้ในการควบคุมฝูงแม่กวาง นอกเหนือจากความสมบูรณ์ โครงร่างใหญ่แข็งแรง สีขนเข้มเป็นมัน จะต้องมีนิสัยในการกระตุ้นและการผสมพันธุ์อย่างนิ่มนวล ไม่ทำให้กวางตัวเมียตกใจหรือได้รับบาดเจ็บ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้กวางตัวเมียไม่ยอมรับการผสมพันธุ์อีกต่อไป พฤติกรรมพ่อพันธุ์ที่ดี จะใจเย็นเดินตามกวางแม่พันธุ์ ใช้ศีรษะและจมูกถูไถอย่างเบา ๆ ตามลำตัว คอ อวัยวะเพศอย่างนิ่มนวล ไม่ไล่ไม่กัดไม่ทำร้ายและไม่บังคับขึ้นผสมในขณะที่ตัวเมียยังไม่พร้อมในการผสมพันธุ์ จนเมื่อตัวเมียยอมรับการขึ้นผสมเป็นไปด้วยความนิ่มนวลไม่รุนแรงจนกวางตัวเมียได้รับบาดเจ็บ

การผลัดเขา (Casting) ของกวางโดยทั่วไปจะอยู่ในช่วงกลางของปี (เมษายน-กันยายน) และเขาก็จะเริ่มงอกใหม่จนเขาแข็งสมบูรณ์ใช้ระยะเวลาประมาณ 5-6 เดือน ซึ่งจะอยู่ในช่วงเข้าสู่ฤดูหนาวเป็นช่วงที่เข้าสู่ฤดูกาลผสมพันธุ์ ในระยะนี้กวางตัวผู้จะมีกลิ่นตัวฉุน เนื่องจากต้องขับกลิ่นสารออกมา ตัวผู้จะมีการต่อสู้เพื่อควบคุมฝูง เพื่อการผสมพันธุ์ บางครั้งตัวผู้ที่สู้ไม่ได้อาจได้รับบาดเจ็บจนถึงตายจากการถูกเขาแทง ดังนั้นในช่วงฤดูนี้ควรมีการตัดเขากวางตัวผู้ในฝูงเพื่อลดการสูญเสียกวางและป้องกันการบาดเจ็บของคนเลี้ยงในขณะปฏิบัติงาน

พ่อพันธุ์กวางที่ดีที่ใช้ในการควบคุมฝูงแม่กวาง นอกเหนือจากความสมบูรณ์ โครงร่างใหญ่แข็งแรง สีขนเข้มเป็นมัน จะต้องมีนิสัยในการกระตุ้นและการผสมพันธุ์อย่างนิ่มนวล ไม่ทำให้กวางตัวเมียตกใจหรือได้รับบาดเจ็บ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้กวางตัวเมียไม่ยอมรับการผสมพันธุ์อีกต่อไป พฤติกรรมพ่อพันธุ์ที่ดี จะใจเย็นเดินตามกวางแม่พันธุ์ ใช้ศีรษะและจมูกถูไถอย่างเบา ๆ ตามลำตัว คอ อวัยวะเพศอย่างนิ่มนวล ไม่ไล่ไม่กัดไม่ทำร้ายและไม่บังคับขึ้นผสมในขณะที่ตัวเมียยังไม่พร้อมในการผสมพันธุ์ จนเมื่อตัวเมียยอมรับการขึ้นผสมเป็นไปด้วยความนิ่มนวลไม่รุนแรงจนกวางตัวเมียได้รับบาดเจ็บ

บาดเจ็บพฤติกรรมการตกลูก ก่อนการตกลูกประมาณ 7 วัน บริเวณอวัยวะเพศ และเต้านมจะขยายใหญ่มองเห็นได้ชัด กวางจะเลียบริเวณช่องคลอดบ่อยมาก แม่กวางช่วงนี้จะกระวนกระวาย เดินวนเวียนไปมา บางครั้งจะดุร้ายด้วยการเอียงคอและยกขาหน้าขึ้นกระทืบดิน จากนั้นแม่กวางจะแยกตัวออกจากฝูงอยู่ตามลำพังโดยหาพื้นที่สงบและปลอดภัยที่สุดในคอก เมื่อใกล้ตกลูกสังเกตเห็นน้ำนม แสดงว่าการตกลูกจะไม่เกิน 2 ชั่วโมง การตกลูกบางครั้งพบการยืนถ่างขาทั้ง 4 ข้าง แต่ส่วนท้ายจะย่อลงเบ่งและตกลูกขณะแม่ยืน บางครั้งพบการนอนกับพื้นในการตกลูก หลังจากตกลูกแล้ว แม่กวางจะเลียลูกทำความสะอาดถุงน้ำคร่ำออก จากนั้นก็จะกินรกของตัวเองจนหมด หลังจากนั้นลูกกวางจะพยายามยืน ซึ่งใช้เวลาพอสมควร และพยายามที่จะกินนมแม่ น้ำนมแม่ในช่วง 2 วันแรก เรียกว่า นมน้ำเหลือง (Colostrum) ซึ่งมีคุณค่าและมีภูมิคุ้มกันที่แม่ถ่ายทอดสู่ลูก จากนั้นแม่กวางจะให้ลูกอยู่ในที่ปลอดภัยประมาณ 2-3 สัปดาห์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น