บทความที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ลักษณะนิสัยและพฤติกรรมต่าง ๆ ของกวาง



ลักษณะที่บ่งบอกถึงสุขภาพกวางที่สมบูรณ์แข็งแรง สังเกตจากขนตามลำตัวมันเงา เรียบ ไม่กระด้างและตั้งชัน ดวงตาแจ่มใส จมูกชื้น มูลเป็นเม็ดไม่มีกลิ่นไม่มีมูกเลือด ปัสสาวะใสไม่มีสีชา เดินไม่กระโพลกกระเพลก เดินตัวไม่แข็งทื่อ เดินถูกท่าเดิน ขาไม่ปัด เวลานั่งพักผ่อนมีการขยอกอาหารมาเคี้ยว (เคี้ยวเอื้อง) ไม่แยกตัวออกจากฝูง ร่างกายภายนอกไม่ผอมผิดปกติ ปกติกวางจะยืนได้ตลอด หากนอนก็จะลุกขึ้นทันทีเมื่อมีคนหรือสัตว์เข้าใกล้ กวางที่ไม่สบายจะไม่ลุกหรือพยายามที่จะลุกแต่ลุกไม่ขึ้น การหายใจปกติ ไม่หอบหรือไอ หากพบว่ากวางผิดปกติไม่สบายให้รีบแยกกวางออกไปดูแลเลี้ยงรักษาที่คอกรักษา

การทำให้กวางเชื่อง ด้วยการที่ผู้เลี้ยงเข้าคอกกวางทำความสะอาด การให้อาหารการป้อนอาหารด้วยมือและการพูดจาอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน จะทำให้กวางเชื่องได้เร็วเพราะว่ากวางมีความจำที่ดีเมื่อกวางเชื่อง การจัดการทุกอย่างจะสะดวก กวางไม่เครียด การเจริญเติบโต และผลผลิตที่ได้รับก็จะดีตามไปด้วย

การระวังภัยเมื่อกวางได้ยินหรือเห็นสิ่งแปลกปลอม จะชูคอหันหน้าและใบหูทั้ง 2 ข้างไปยังทิศทางที่ได้ยินหรือเห็น หางจะชี้ขึ้น ยืนนิ่งเงียบ เมื่อไม่แน่ใจจะใช้ขาหน้าจิกกับพื้นอย่างรุนแรง 2-3 ครั้ง จากนั้นจะส่งเสียงร้องแหลมดังขึ้น ถ้าอยู่กันหลายตัวจะไปยืนรวมกัน (ผู้เลี้ยงสังเกตเห็นพฤติกรรมนี้ให้รีบเข้าตรวจดูเพื่อป้องกันไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาเช่น คน สุนัข ตะกวด งู ฯลฯ) เมื่อมีตัวใดตัวหนึ่งตื่นและวิ่งจะทำให้กวางตัวอื่นทั้งหมดวิ่งตาม

การโกรธ ทำร้าย และต่อสู้ กวางจะกัดฟันเสียงดังกรอด ๆ ร่องใต้ตาทั้งสองข้างเบิกลึกกว้างพร้อมกับเดินส่ายหัวเข้าหาศัตรูอย่างช้า ๆ ก้มหัวลงเพื่อให้ปลายเขาหน้าชี้เข้าหาศัตรู พร้อมที่จะใช้ปลายเขาชน หรือพุ่งกระโจนเข้าทิ่มแทง การแทงมีทั้งการพุ่งตรง หรือสะบัดไปทั้งซ้ายและขวา เมื่อพบพฤติกรรมเช่นนี้ คนเลี้ยงควรถอยออกห่างก่อน หรือพบพฤติกรรมเช่นนี้ กับกวางด้วยกันควรรีบหาทางแยกออกจากกัน หรือไม่ก็ทำการตัดเขาแก่ทิ้ง เพื่อป้องกันการสูญเสียจากการต่อสู้
การผลัดเขา (Casting) ของกวางโดยทั่วไปจะอยู่ในช่วงกลางของปี (เมษายน-กันยายน) และเขาก็จะเริ่มงอกใหม่จนเขาแข็งสมบูรณ์ใช้ระยะเวลาประมาณ 5-6 เดือน ซึ่งจะอยู่ในช่วงเข้าสู่ฤดูหนาวเป็นช่วงที่เข้าสู่ฤดูกาลผสมพันธุ์ ในระยะนี้กวางตัวผู้จะมีกลิ่นตัวฉุน เนื่องจากต้องขับกลิ่นสารออกมา ตัวผู้จะมีการต่อสู้เพื่อควบคุมฝูง เพื่อการผสมพันธุ์ บางครั้งตัวผู้ที่สู้ไม่ได้อาจได้รับบาดเจ็บจนถึงตายจากการถูกเขาแทง ดังนั้นในช่วงฤดูนี้ควรมีการตัดเขากวางตัวผู้ในฝูงเพื่อลดการสูญเสียกวางและป้องกันการบาดเจ็บของคนเลี้ยงในขณะปฏิบัติงาน

พ่อพันธุ์กวางที่ดีที่ใช้ในการควบคุมฝูงแม่กวาง นอกเหนือจากความสมบูรณ์ โครงร่างใหญ่แข็งแรง สีขนเข้มเป็นมัน จะต้องมีนิสัยในการกระตุ้นและการผสมพันธุ์อย่างนิ่มนวล ไม่ทำให้กวางตัวเมียตกใจหรือได้รับบาดเจ็บ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้กวางตัวเมียไม่ยอมรับการผสมพันธุ์อีกต่อไป พฤติกรรมพ่อพันธุ์ที่ดี จะใจเย็นเดินตามกวางแม่พันธุ์ ใช้ศีรษะและจมูกถูไถอย่างเบา ๆ ตามลำตัว คอ อวัยวะเพศอย่างนิ่มนวล ไม่ไล่ไม่กัดไม่ทำร้ายและไม่บังคับขึ้นผสมในขณะที่ตัวเมียยังไม่พร้อมในการผสมพันธุ์ จนเมื่อตัวเมียยอมรับการขึ้นผสมเป็นไปด้วยความนิ่มนวลไม่รุนแรงจนกวางตัวเมียได้รับบาดเจ็บ

การผลัดเขา (Casting) ของกวางโดยทั่วไปจะอยู่ในช่วงกลางของปี (เมษายน-กันยายน) และเขาก็จะเริ่มงอกใหม่จนเขาแข็งสมบูรณ์ใช้ระยะเวลาประมาณ 5-6 เดือน ซึ่งจะอยู่ในช่วงเข้าสู่ฤดูหนาวเป็นช่วงที่เข้าสู่ฤดูกาลผสมพันธุ์ ในระยะนี้กวางตัวผู้จะมีกลิ่นตัวฉุน เนื่องจากต้องขับกลิ่นสารออกมา ตัวผู้จะมีการต่อสู้เพื่อควบคุมฝูง เพื่อการผสมพันธุ์ บางครั้งตัวผู้ที่สู้ไม่ได้อาจได้รับบาดเจ็บจนถึงตายจากการถูกเขาแทง ดังนั้นในช่วงฤดูนี้ควรมีการตัดเขากวางตัวผู้ในฝูงเพื่อลดการสูญเสียกวางและป้องกันการบาดเจ็บของคนเลี้ยงในขณะปฏิบัติงาน

พ่อพันธุ์กวางที่ดีที่ใช้ในการควบคุมฝูงแม่กวาง นอกเหนือจากความสมบูรณ์ โครงร่างใหญ่แข็งแรง สีขนเข้มเป็นมัน จะต้องมีนิสัยในการกระตุ้นและการผสมพันธุ์อย่างนิ่มนวล ไม่ทำให้กวางตัวเมียตกใจหรือได้รับบาดเจ็บ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้กวางตัวเมียไม่ยอมรับการผสมพันธุ์อีกต่อไป พฤติกรรมพ่อพันธุ์ที่ดี จะใจเย็นเดินตามกวางแม่พันธุ์ ใช้ศีรษะและจมูกถูไถอย่างเบา ๆ ตามลำตัว คอ อวัยวะเพศอย่างนิ่มนวล ไม่ไล่ไม่กัดไม่ทำร้ายและไม่บังคับขึ้นผสมในขณะที่ตัวเมียยังไม่พร้อมในการผสมพันธุ์ จนเมื่อตัวเมียยอมรับการขึ้นผสมเป็นไปด้วยความนิ่มนวลไม่รุนแรงจนกวางตัวเมียได้รับบาดเจ็บ

บาดเจ็บพฤติกรรมการตกลูก ก่อนการตกลูกประมาณ 7 วัน บริเวณอวัยวะเพศ และเต้านมจะขยายใหญ่มองเห็นได้ชัด กวางจะเลียบริเวณช่องคลอดบ่อยมาก แม่กวางช่วงนี้จะกระวนกระวาย เดินวนเวียนไปมา บางครั้งจะดุร้ายด้วยการเอียงคอและยกขาหน้าขึ้นกระทืบดิน จากนั้นแม่กวางจะแยกตัวออกจากฝูงอยู่ตามลำพังโดยหาพื้นที่สงบและปลอดภัยที่สุดในคอก เมื่อใกล้ตกลูกสังเกตเห็นน้ำนม แสดงว่าการตกลูกจะไม่เกิน 2 ชั่วโมง การตกลูกบางครั้งพบการยืนถ่างขาทั้ง 4 ข้าง แต่ส่วนท้ายจะย่อลงเบ่งและตกลูกขณะแม่ยืน บางครั้งพบการนอนกับพื้นในการตกลูก หลังจากตกลูกแล้ว แม่กวางจะเลียลูกทำความสะอาดถุงน้ำคร่ำออก จากนั้นก็จะกินรกของตัวเองจนหมด หลังจากนั้นลูกกวางจะพยายามยืน ซึ่งใช้เวลาพอสมควร และพยายามที่จะกินนมแม่ น้ำนมแม่ในช่วง 2 วันแรก เรียกว่า นมน้ำเหลือง (Colostrum) ซึ่งมีคุณค่าและมีภูมิคุ้มกันที่แม่ถ่ายทอดสู่ลูก จากนั้นแม่กวางจะให้ลูกอยู่ในที่ปลอดภัยประมาณ 2-3 สัปดาห์

พฤติกรรมของเสือโคร่ง


พฤติกรรมของเสือโคร่ง

พฤติกรรมในการกำหนดอาณาเขต
เสือโคร่งจะทำการกำหนดอาณาเขตโดยการข่วนรอยไว้ตามต้นไม้ การพ่นน้ำปัสสาวะก็เป็นอีกวิธีหนึ่งเพื่อบอกอาณาเขต เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้ว เสือโคร่งไม่ใช่สัตว์สังคม มันจะอยู่อาศัยและล่าเหยื่อในอาณาบริเวณของมัน ถ้าเสือโคร่งตัวอื่นเข้ามาในอาณาเขตเมื่อดมกลิ่นก็จะรับรู้ และมักจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า และการต่อสู้ นอกจากนี้ปัสสาวะของเสือโคร่งตัวเมียยังสามารถบอกให้รู้ว่า เสือตัวเมียตัวนั้นอยู่ในระยะที่จะผสมพันธุ์ได้หรือไม่อีกด้วย


พฤติกรรมการผสมพันธุ์
ในช่วงฤดูการผสมพันธุ์เสือโคร่งจะอาศัยอยู่เป็นคู่ และเสือโคร่งเพศเมียที่เป็นสัด จะส่งเสียงร้องเป็นช่วงๆ เสือโคร่งตัวผู้จะดมกลิ่นน้ำปัสสาวะของเสือโคร่งตัวเมียที่อยู่ในละแวกนั้น หลังจากนั้นจะเริ่มติดตาม, เข้าหา และแสดงความสนใจเสือตัวเมีย โดยจะดมอวัยวะเพศ, ไซร์ตามซอกคอ หรือสีข้าง เสือโคร่งตัวผู้จะสังเกตุอาการของเสือโคร่งตัวเมียไปด้วยว่าจะยอมรับการเข้าหา หรือมีท่าที ตอบสนองหรือไม่ เมื่อตัวเมียยอมรับตัวผู้แล้ว จะยอมให้ตัวผู้ขึ้นทับและทำการผสมพันธุ์ เมื่อผสมพันธุ์เสร็จ เสือโคร่งตัวเมียจะแว้งกัดหรือตะปบเสือโคร่งตัวผู้


พฤติกรรมการเลี้ยงลูก
หลังจากที่ตั้งท้องได้ประมาณ 95 - 105 วันแล้ว ตัวเมียจะคลอดลูก เมื่อคลอดออกมา แม่จะเลียลูกจนเมือกที่หุ้มตัวแห้ง ซึ่งเป็นการกระตุ้นระบบหมุนเวียนในร่างกายของลูกด้วย ลูกเสือจะกินน้ำนมแม่ตั้งแต่กำเนิด แม้ว่าจะมองไม่เห็นในช่วง 7-10 วันแรก แม่เสือจะเริ่มหัดให้ลูกเสือกินเนื้อเมื่อลูกเสือมีอายุ ประมาณ 2 เดือน และลูกเสือจะหย่านมที่ประมาณ 5 เดือน ในช่วง 2 เดือนแรกแม่เสือจะลำบากที่สุดเนื่องจาก ต้องออกไปล่าเหยื่อและกลับมาเลี้ยงลูกเสือให้ได้ภายใน 24 ชั่วโมง เพราะลูกอ่อนไม่สามารถตามแม่เสือออกไปล่าเหยื่อได้ ลูกเสือโคร่งจะใช้ชีวิตในการเรียนรู้กับแม่เกือบ 2 ปี จึงแยกออกไปล่าเหยื่อโดยลำพัง


พฤติกรรมการล่าเหยื่อ
โดยปกติแล้วเสือโคร่งเป็นสัตว์ที่จะออกล่าเหยื่อก็ต่อเมื่อมันหิว ในป่าบริเวณที่มีประชากรของสัตว์กินพืชมาก จะมีประชากรของเสือมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งเป็นไปตามระบบนิเวศน์นั่นเอง เสือโคร่งจะ ออกล่าเหยื่อที่มันประมาณได้ว่ามันสามารถล่าได้ คือจะไม่ล่าเหยื่อที่ใหญ่กว่าตัวมันเอง เนื่องจากมีความเสี่ยง และอาจไม่ประสบความสำเร็จในการล่า
ขั้นตอนการล่าเหยื่อของเสือโคร่งแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนคือ
การซุ่มดู และย่องเข้าหาเหยื่อ
การวิ่งไล่ และกระโจนเข้าใส่เหยื่อ
การตะปบเหยื่อ
การกัดเหยื่อ

เสือโคร่งจะทำการงับลำคอของเหยื่อ ไม่นิยมงับหลังคอเนื่องจากเหยื่อส่วนใหญ่ของเสือจะเป็นสัตว์ที่มีเขา เช่น กวางชนิดต่างๆ หลังจากทำการล่าได้แล้ว เสือโคร่งจะเริ่มทำการกินเหยื่อ โดยเสือโคร่งมักจะกินเนื้อ บริเวณสะโพกก่อน หากกินไม่หมดเสือโคร่งจะทำการกลบเหยื่อ หรืออาจร้องเรียกเสือโคร่งตัวอื่นมากินต่อไป


พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป
เมื่อเสือโคร่งซึ่งเป็นสัตว์โดดเดี่ยวถูกนำมาเลี้ยงรวมกัน จะเกิดกระบวนการจัดลำดับชั้นทางสังคมขึ้น คือการต่อสู้เพื่อความเป็นใหญ่ในฝูง หากมีการแยกกัน 2 ฝูง เมื่อนำมาใส่ในพื้นที่เดียวกัน ก็จะมีการยกพวกเข้าต่อสู้กันเป็นต้น ในการเลี้ยงดูโดยมนุษย์ พฤติกรรมในการล่าเหยื่อของเสือโคร่งจะลดลง แต่หากทำการกระตุ้นพฤติกรรมก็จะสามารถแสดงออกมาโดยสัญชาติญาณการล่าได้เช่นกัน

เมื่อ... ม้าน้ำ เริงร่าในตู้กระจก

ปัจจุบันมีสัตว์จากท้องทะเลมากมายถูกนำขึ้นมาชื่นชมความสวยงามในตู้กระจกใส และหนึ่งในบัญชีสัตว์ทะเลยอดฮิตนั้นก็มีเจ้าปลารูปร่างแปลกประหลาดอย่าง ม้าน้ำ ติดอยู่ในลิสต์กับเขาด้วย ทำให้เกิดการค้าขายม้าน้ำ(มีชีวิต) ไม่ต่ำกว่า 4.5 แสนตัว/ปี เลยทีเดียว

นอกจากความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในเรื่องของรูปร่างแล้ว พฤติกรรมของ ม้าน้ำ ยังมีความโดดเด่นจนนำอันตรายมาสู่ชีวิตของพวกมัน เนื่องจากการใช้ชีวิตของ ม้าน้ำ ที่จะครองคู่กันแบบผัวเดียวเมียเดียว จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะตายจากกันไป มันจึงมักถูกพรากจากทะเลมาแปรสภาพเป็น ม้าน้ำตากแห้ง เพื่อสังเวยความเชื่อที่ว่า การมอบม้าน้ำคู่ผัวเมียให้แก่คู่บ่าวสาวเป็นของขวัญในวันแต่งงาน เปรียบเหมือนการอวยพรให้คู่บ่าวสาวมีความรักที่ซื่อสัตย์ต่อกัน

ขณะเดียวกัน ม้าน้ำ ยังถูกนำมาทำยาและของที่ระลึกมากมาย ทำให้ในแต่ละปีมีม้าน้ำทั่วโลก ถูกจับมาใช้ประโยชน์ทางการค้าประมาณ 24.5 ล้านตัว ต่อปี และประเทศไทย ก็ติด 1 ใน 5 ของผู้ส่งออกหลักซะด้วย ทำให้นักอนุรักษ์เป็นห่วงประชากร ม้าน้ำ จนนำไสู่การศึกษาเพื่อเพาะพันธุ์ม้าน้ำขึ้นมา

สำหรับ ม้าน้ำ หรือ Sea horse จัดเป็นสัตว์จำพวกปลาหายใจทางเหงือก แต่กลับมีกระดูกหรือก้างมาห่อหุ้มเป็นเกราะอยู่ภายนอกตัว มีหางยาวกระเดียดไปทางจิ้งจก ตุ๊กแก ทั้งนี้ ก็เพื่อเกี่ยวยึดตัวเองตามต้นสาหร่ายในน้ำ และมีครีบบางใสตรงเอวช่วยในเคลื่อนไหวได้อย่างช้า ๆ
แม้ว่าปัจจุบันจะมีการเพาะเลี้ยงม้าน้ำทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชนที่นำไปขยายผล แต่ด้วยวิสัยของม้าน้ำ มันมีข้อจำกัดในหลาย ๆ เรื่อง อาทิ พฤติกรรมการกิน เพราะม้าน้ำจะพิจารณาอาหารก่อนทุกครั้ง ก่อนจะสูบอาหารผ่านปากเล็ก ๆ ของมัน ซึ่งอาหารชั้นยอดของ ม้าน้ำ ไม่ใช่ไรทะเลหรืออาร์ทีเมียตัวมีชีวิตเท่านั้น แต่มันยังควรได้รับสารอาหารจากกุ้งขนาดเล็กตัวเป็น ๆ อีกด้วย

นอกจากนี้ นิสัยอันเชื่องช้า ทำให้มันไม่ค่อยจะเหมาะเลี้ยงรวมกับปลาทะเลอื่น ๆ เพราะไม่สามารถช่วงชิงอาหารได้ทันนั่นเอง แต่หากคิดจะหาเพื่อนให้ ม้าน้ำ แนะนำเป็นปลาที่หาอาหารในระดับพื้นทราย จำพวกปลากินตระไคร่ หรือปูเสฉวน ขนาดไม่ใหญ่พอที่จะจับม้าน้ำในตู้เป็นอาหาร แต่อย่าได้ไว้ใจเลี้ยงกุ้งสวยงามชนิดต่าง ๆ ร่วมด้วย เพราะเจ้าม้าน้ำอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาหารอันโอชะเอาได้

และประการสำคัญที่สุด คือ การควบคุมคุณภาพน้ำทะเลภายในตู้ให้เหมาะสม โดยตู้เลี้ยงม้าน้ำควรเป็นตู้ทรงสูง เพื่อให้เจ้าม้าน้ำได้ว่ายน้ำตามแนวดิ่งได้อย่างอิสระ ทั้งนี้ อาจสร้างกระแสน้ำเอื่อยคล้ายโลกใต้ทะเล และจัดหาปะการังที่ปลอดภัยให้ม้าน้ำสามารถยึดเกี่ยวด้วยหางด้วยก็จะดีมาก แต่ที่ควรระวังคือ ระบบกรองและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อาจใช้ได้กับปลาทะเลทั่วไป อาจกลายเป็นกับดักปลิดชีพม้าน้ำได้ เพราะหากภายในตู้มีฟองอากาศมาก ก็เสี่ยงที่ม้าน้ำดูดเอาฟองอากาศเหล่านั้นไปสะสมอยู่ในตัวจนทำให้มันเสียศูนย์ เกิดอาการลอยเคว้ง และตายไปในที่สุด

สรุปได้ว่าไม่ง่ายเลยที่จะมีเจ้าปลาน้อยจากใต้ทะเลตัวนี้มาเป็นสัตว์เลี้ยงในกระจกใส แต่หากใครคิดจะเลี้ยงมันจริง ๆ คงต้องศึกษาหาข้อมูลอย่างรู้แจ้งเห็นจริงเสียก่อน

พฤติกรรมและความเครียดของสุกรหย่านม

อาหารและการให้อาหาร
ความสมบูรณ์ของสุกรหย่านมมักขึ้นกับน้ำหนักหย่านม แนะนำว่าลูกสุกรหย่านมที่อายุ 20 วัน ควรมีน้ำหนักตัว
ไม่ต่ำกว่า 5.5 กิโลกรัม (5.5-6.4 กิโลกรัม) เรื่องคุณภาพของอาหารลูกสุกรอนุบาลคงไม่กล่าวไว้ในที่นี้ เนื่องจาก มักแนะนำว่าควรให้อาหารเลียรางกับสุกรหย่านมเป็นเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากหย่านมแล้วจึงค่อยเปลี่ยนเป็นอาหารสุกร
อนุบาล จริงๆ เพื่อลดความจำเป็นที่ลูกสุกรจะต้องปรับตัวในด้านอาหารลง ดังนั้นในบ้านเราเชื่อว่าการฝึกให้ลูกสุกร กินอาหารเลียรางในคอกคลอดได้มากๆ จะเป็นผลดีที่ทำให้ระบบการย่อยของลูกสุกรมีการเตรียมตัว และสามารถปรับตัว ได้ดีเมื่อหย่านม อย่างไรก็ตามในระบบที่หย่านม 21 วันหรือน้อยกว่า น้ำนมแม่ยังเป็นอาหารหลักของลูกสุกรในคอก
คลอด ดังนั้นคุณภาพของอาหารเลียรางที่สูง ๆ เช่น มีโปรตีนนมสูงมีน้ำตาลแลกโตส เป็นแหล่งพลังงาน และความ ต่อเนื่องในการให้อาหารเลียรางกับลูกสุกรหลังหย่านมเป็นสิ่งจำเป็น
และเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง นอกจากเรื่องคุณภาพของอาหารแล้ว รูปแบบและวิธีการให้อาหาร ก็ควรต่อเนื่องด้วย เป็นการแบ่งเบาความจำเป็นที่สุกรจะต้องปรับตัวหลาย ๆ อย่างพร้อม ๆ กันในวันแรกหลังหย่านม จึงแนะนำว่าในช่วง
วันแรก ๆ จำเป็นต้องให้อาหารบ่อยครั้ง (5-6 ครั้ง) คล้ายกับจำนวนครั้งที่ลูกสุกรดูดนมแม่ หลังจากนั้นค่อย ๆ ลดจำนวนมื้ออาหารลง ส่วนอาหารแข็งถ้าไม่สามารถทำให้เป็นอาหารเหลวและอุ่นได้ (ซึ่งอาจทำได้โดยผสมอาหารเลียรางกับน้ำนมหรือน้ำเกลือแร่ จุดประสงค์เพื่อต้องการให้สุกรเคยชินและกินอาหาร
ได้มากขึ้น) ก็ต้องเอาใจใส่ให้ทีละน้อย ๆ และบ่อยครั้ง มีภาชนะเปิดใส่น้ำสะอาด เอาไว้ให้สุกรหลังหย่านมกิน อย่างน้อยในวันแรกหรือวันที่สองตลอดเวลา เนื่องจากลูกสุกรหลังหย่านมใหม่ยังไม่เคยชินกับการดูดน้ำจากจุ๊บน้ำ ส่วนจุ๊บน้ำก็ควรมีน้ำที่มีอุณหภูมิไม่ร้อนและมีอัตราการไหลอย่างสม่ำเสมอ ไม่ไหลแรงเกินไป
(ไม่เกิน 1 ลิตรต่อนาที) อาหารที่ให้ควรเป็นอาหารที่สุกใหม่เสมอ พื้นที่รางอาหารต้องเพียงพอ
ซึ่งจะเป็นการลดการต่อสู้ เพื่อแย่งชิงอาหารกันด้วย


ที่อยู่อาศัย
เพื่อป้องกันความเครียดเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทั้งที่อยู่และเพื่อนฝูง การจัดการหลายอย่างถูกแนะนำเพื่อลดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้ได้มากที่สุด สิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก คือ การหย่านม ซึ่งต้องย้ายลูกออกจากแม่และต้องย้ายโรงเรือน ดังนั้นในเรื่องที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยแล้ว ถ้าสามารถย้ายลูกสุกรทั้งครอกไปยังคอกสุกรอนุบาล ที่ได้ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อแล้วทิ้งว่างไว้นาน
1 สัปดาห์ ที่มีพื้นที่เพียงพอ (3-3.5 ตารางเมตรต่อสุกรหนึ่งครอกอยู่ได้ 4-6 สัปดาห์) และถ้าเป็นไปได้โรงเรือนอนุบาลควรมีการจัดการแบบ เข้าหมดออกหมด คือมีการกั้นห้องไว้ให้มีจำนวนห้องเพียงพอที่ลูกสุกรที่หย่านมสัปดาห์เดียวกันสามารถอยู่ด้วยกันได้ตลอดช่วงที่เป็น
สุกรอนุบาล การคัดขนาดลูกสุกรอาจจะกระทำเมื่อลูกสุกรสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่แล้ว
(ประมาณ 1 สัปดาห์) ลักษณะการจัดการเช่นนี้นอกจากจะเป็นการลดความเครียดกับสุกรหลังหย่านมแล้ว ยังเป็นการตัดวงจรของเชื้อโรคที่อาจถ่ายทอดจากสุกรอายุมากไปสู่สุกรอายุน้อยได้


ความร้อนในตัวสุกร
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในฉบับที่ 2 ว่าสุกรจะรู้สึกร้อนหรือหนาวขึ้นอยู่กับขนาดตัวของสุกร อุณหภูมิและความชื้นของอากาศ ความร้อนของโรงเรือน ความเร็วลม ชนิดของพื้นคอก ปริมาณและคุณภาพของอาหารที่สุกรกิน หรือแม้แต่ความหนาแน่นใช้ การสังเกตพฤติกรรมของลูกสุกรจะเป็นดัชนีที่ใช้เฝ้าระวังได้ชัดเจนที่สุด หากลูกสุกรนอนสุ่มกันแสดงว่าอุณหภูมิของโรงเรือนต่ำเกินไป ในโรงเรือนที่มีอุณหภูมิพอเหมาะ ลูกสุกรจะนอนเอาสีข้างลงกระจายอยู่ใกล้ ๆ กันแต่ไม่ทับหรือสุ่มกัน โดยทั่วไปลูกสุกรอายุไม่เกิน 1 สัปดาห์หลังหย่านมจำเป็นต้องได้รับความอบอุ่น ผู้เลี้ยงจำเป็นต้องปิดโรงเรือนมิดชิดเพื่อป้องกันลมโกรก และอาจจำเป็นต้องใช้กล่องกกหรือปูกระสอบป่านช่วย ส่วนในลูกสุกรที่อายุมากขึ้นเช่นในสัปดาห์ที่ 2 หรือน้ำหนักตัว 8-10 กิโลกรัมจะสามารถปรับตัวและการกินได้จะสูงในอากาศที่เย็นกว่า อย่างไรก็ตามเนื่องจากในฟาร์มแต่ละฟาร์มอาจมีปัจจัยที่มีผลกระทบต่อตัวสุกรได้แตกต่างกันได้ สุกรส่วนหนึ่งอาจสามารถปรับตัวได้เร็วหรือสภาพแวดล้อมบางอย่างเปลี่ยนแปลงไป ถ้าเราตั้งโปรแกรมการจัดการที่ตายตัว อาจมีผลทำให้สุกรบางส่วนที่ชอบอากาศเย็นกว่าจะรู้สึกร้อนทำให้การกินอาหารได้ลดลง และจะมีสุกรอีกส่วนหนึ่งที่ชอบอากาศอุ่นกว่าจะเย็น ก็ทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย จึงอยากแนะนำให้สังเกตพฤติกรรมของสุกรให้ใกล้ชิดดีกว่าจะวางเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว

พฤติกรรมการกินใน แฮมสเตอร์

พฤติกรรมการกินในแฮมสเตอร์แคระ (สื่อรักสัตว์เลี้ยง)

โดย จ๋า พรรณพงา
คอลัมน์ สัตว์เลี้ยงกระเป๋า

ลีลาอันน่าประทับใจอีกอย่างที่ทำให้ แฮมสเตอร์ เป็นที่รักใคร่แก่เจ้าของก็คือ ลีลาการกินอาหาร ซึ่งแต่ะละตัวจะมีลีลาแตกต่างกัน

1. การจับอาหารกิน แฮมสเตอร์ จะใช้เท้าหน้าทั้งซ้ายและขวาจับอาหารเข้าปาก โดยน้ำหนักตัวจะถูกถ่ายลงบนขาหลังทั้งสองข้างในท่านั่ง หากอาหารที่กินมีน้ำหนักน้อย เช่น เมล็ดทาทนตะวัน เมล็ดธัญพืช ซึ่งเขาสามารถยกและถือเอาไว้ได้ในลักษณะนั่งกิน แต่หากอาหารที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก เช่น อาหารเม็ด คงจะเป็นเรื่องลำบากหากต้องจัดอยู่ในท่านั้น การกินอาหารจึงอยู่ในท่านอนคว่ำ แล้วใช้สองเท้าหน้าจับกินมากกว่า

อย่างไรก็ตาม บางครั้ง แฮมสเตอร์ อาจจะกินอาหารอยู่ในท่านอนไม่ว่าจะการกินอาหารที่ให้หรืออาหารที่เขาตุนและคายออกมากิน ทั้งนอนคว่ำ นอนหงาย นอนตะแคง แม้กระทั่งตีลังกา ที่สามารถพบเห็นและสร้างความน่ารัก ขบขันให้แก่เจ้าของได้มากทีเดียว

2. การกินอาหาร นิสัยของสัตว์ทั่วไป จะมีการแสดงออกเพื่อการอยู่รอด เห็นแก่ตัว การกินอาหารจึงเป็นเฉกเช่นเดียวกัน การกินอาหารของ แฮมสเตอร์ บางครั้งจะมีการเลือกอาหารที่กิน มีอาการหวงอาหาร แย่งอาหารชนิดเดียวกัน ทั้งๆ ที่มีหลายชนิดให้เลือกกิน เลือกที่กิน แย่งกินโดยมีลักษณะทะเลาะกันบ้าง เป็นต้น นอกจากนั้น หากไม่พอใจ หรือคิดว่าบริเวณที่ให้อาหารนั้นไม่สะดวก หรือไม่เหมาะสมต่อการกินตรงบริเวณนั้น แฮมสเตอร์ ก็จะเริ่มตุนอาหาร ซึ่งมักจะพบได้ง่ายในลูก แฮมสเตอร์ ที่เพิ่งหย่านมและกำลังเจริญเติบโต

3. การตุนอาหาร (ตุนที่พื้น/ตุนที่แก้ม) พบได้ตลอดช่วงชีวิตของ แฮมสเตอร์ แต่ปริมาณและขนาดของการตุนอาหารจะแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงอายุ และแตกต่างกันในแต่ละพันธุ์ และแต่ละสีในกลุ่มพันธุ์นั้นๆ ด้วย โดยลูก แฮมสเตอร์ มักจะชอบตุนอาหารเอาไว้เต็มสองกระพุ้งแก้ม บางตัวเก็บอาหารโดยไม่ผ่านการกัดแทะเพื่อเอาเปลือกที่กินไม่ได้ออกก่อนเลย จับยัดเข้าไปทั้งเมล็ด จนดูคล้ายกับว่าเป็นนักกล้าม บริเวณไหล่ทั้งสองข้างจะขยายออกเป็นก้อนกลมคล้ายกล้ามทั้งสองข้าง หลังจากเริ่มโตเต็มที่ การกักตุนอาหารดังกล่าวจะเริ่มน้อยลง ยกเว้นกรณีที่ แฮมสเตอร์ คิดว่าไม่ปลอดภัย หรือใกล้จะคลอดจะมีการกักตุนอาหารไว้ในกระพุ้งแก้ม และนำไปคายและกลบฝังใต้วัสดุรองนองในที่ใดที่หนึ่งที่เขาคิดว่าปลอดภัย

4. การกินสิ่งที่กักตุนเอาไว้ แฮมสเตอร์ เมื่อต้องการกินอาหารที่กักตุนไว้ในกระพุ้งแก้ม จะมีพฤติกรรมที่ใช้เท้าหน้าข้างใดข้างหนึ่งดันบริเวณกระพุ้งแก้มด้านหลังที่โป่งพองออกให้ไปข้างหน้า เพื่อเป็นการนำอาหารเหล่านั้นออกมากิน โดยพบว่าจะมีพฤติกรรมการเอาอาหารออกมากินดังกล่าวจะกินทีละข้าง นอกจากนั้น การคายอาหารออกมากิน บางครั้งมีหลายจุดประสงค์ สิ่งแรกคือเพื่อนำออกมากินจริงๆ หรืออาจจะคายอาหารเพื่อนำไปซ่อนไว้กินทีหลังหรือให้ลูกน้อย และสุดท้ายการคายอาหาร แฮมสเตอร์ อาจจะเข้าใจว่าเป็นการลดขนาดร่างกายให้เล็กที่สุด เพื่อพร้อมรับสถาณการณ์คับขันในการหลบหลีกอันตรายต่างๆ เช่น เวลาเจ้าของจับอุ้มเขาขึ้นมา จะพบพฤติกรรมดังกล่าวอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเขาคิดว่าเป็นการพยายามลดขนาดตัวเองเพื่อให้สามารถหลบหนีได้คล่องแคล่วที่สุด

5. การกินน้ำ โดยปกติแล้ว เจ้าของจะให้น้ำ แฮมสเตอร์ กิน ไม่ว่าจะใส่ถ้วยตั้งในกรงซึ่งมักจะหกเลอะเทอะและสกปรกเร็ว รวมทั้งเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคง่ายกว่าการให้แบบขวดน้ำ ซึ่งเจ้าของจะต้องหมั่นสังเกตทุกวันเป็นกิจวัตรว่ามีน้ำให้เขาเพียงพอหรือไม่ เพราะเนื่องจากการขาดน้ำ 2-3 วัน อาจทำให้ แฮมสเตอร์ตายได้

มาดูพฤติกรรมแบบหนูๆกัน

แสดงความไม่คุ้นเคยกับที่แปลกถิ่น (Unfamiliar territory)
แสดงอารมณ์ หรือ แสดงความตั้งใจ (Emotions and intention)
หวาดกลัว (Fear)
เมื่อแฮมสเตอร์อยากรู้อยากเห็นหรือสนใจอะไรเขาจะนั่งบนสะโพกของตัวเองและใช้จมูกสูดดมอากาศฟิดฟัดอยู่เป็นเวลานาน สองขาหน้ายกขึ้นอยู่ระดับเดียวกับท้อง และนิ้วเท้าของทั้งสองเข้าหน้าจะชี้ลงสู่พื้น



ถ้าแฮมสเตอร์ถูกทำให้ตกใจกลัวหรือถูกก่อกวนจนอารมณ์เสีย ในขณะนั้นเขาจะดุร้าย และกระดกพับหูทั้งสองช้างลง ลุกขึ้นยืนด้วยสองขาหลัง ยกขาหน้าขึ้นและส่งเสียงร้องขู่ด้วยความกลัว บางครั้งแฮมสเตอร์ที่ตกใจกลัวมากๆจะลงนอนหงายท้องและส่งเสียงขู่ร้อง หากพบว่าแฮมสเตอร์กำลังอยู่ในอาการเหล่านี้อย่าพึ่งรีบเข้าใปจับหรืออุ้มเขาเป็นอันขาด เพราะท่าทางเหล่านี้ แสดงว่าเขากำลังตกใจและพร้อมจะกัดเพื่อป้องกันตัวเอง ควรปล่อยให้เขาตั้งสติและสงบสติอารมณ์เสียก่อน



แฮมสเตอร์จะใช้การสื่อสารทางกายเพื่อแสดงให้แฮมสเตอร์ตัวอื่นๆรับรู้ถึงอารมณ์หรือความตั้งใจ เช่น แฮมสเตอร์ที่มีอายุน้อยกว่า อาจแสดงถึงความยำเกรงต่อแฮมสเตอร์ที่อาวุโส หรือต่อตัวที่โตกว่า มีอำนาจมากกว่า ด้วยการยกหางตัวเองขึ้น แล้วรีบเดินผ่านไปอย่างรวดเร็ว เพื่อหลีกเลี่ยงการปะทะกัน



แฮมสเตอร์เป็นสัตว์ที่สายตาไม่ค่อยดีนัก เขาจะใช้วิธีดมกลิ่นในการคลำทางเดิน ฉะนั้นจะสังเกตเห็นได้บ่อยๆว่าเมื่อปล่อยแฮมสเตอร์ในที่แปลกถิ่นเขาจะเดินมุดหลบไปอย่างสะเปะสะปะ และไม่แน่ใจในทิศทางเดิน เพราะเขาไม่สามารถพบร่องรอยตัวเองที่เคยทิ้งกลิ่นเอาไว้ตามทาง แฮมสเตอร์จะรู้สึกไม่ค่อยปลอดภัยในสถานที่ใหม่ หรือที่แปลกถิ่น



ปกติแล้วแฮมสเตอร์จะใช้เวลาสำหรับการนอนมากพอสมควรในตอนกลางวัน บางครั้งจะมุดตัวลงไปนอนใต้ขี้กบ และฝังตัวเองอยู่ในนั้น แฮมสเตอร์อาจจะหลับสนิทและแน่นิ่งจนดูเหมือนตาย แต่ถ้ามองดูให้ชัดเขายังหายใจอยู่ก็แสดงว่าปกติดี แฮมสเตอร์ที่กำลังเคลิ้มหลับอาจจะโมโหและฉุนเฉียวง่ายถ้าถูกก่อกวนให้ตื่น หรือโดนปลุกด้วยวิธีรุนแรง
อยากรู้อยากเห็น และสนอกสนใจ (Curiosity and interest)

การผสมพันธุ์
อายุที่เหมาะสมแก่การผสมพันธุ์ของแฮมสเตอร์คือประมาณ 3 เดือนขึ้นไป การจับคู่ก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก เพียงแต่นำพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ใส่ไว้ในกรงเพาะพันธุ์ หลังจากนั้นก็สังเกตว่าตัวเมียท้องหรือไม่โดยสังเกตจากท้องที่ขยายออก และถ้าใกล้คลอดแล้วอาจจะสังเกตเห็นหัวนมได้ถ้าเป็นไปได้ควรแยกแม่พันธุ์ทื่ท้องไว้ต่างหาก
การตกลูก

มาดูพฤติกรรมแบบหนูๆกัน


หนูแฮมสเตอร์โดยปกติแล้วจะตกลูกครั้งละประมาณ 3-18 ตัว ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของร่างกาย ลูกหนูแรกเกิดจะตัวเล็กมา ผิวหนังสีชมพูไม่มีขน ลูกหนูจะกินนมแม่ตามธรรมชาติและค่อยๆพัฒนาร่างกายและอวัยวะต่างๆจนอายุประมาณ 2 สัปดาห์ก็พัฒนาเต็มที่ ระยะเลี้ยงลูกอ่อนควรมีอาหารและน้ำไม่ให้ขาดแคลน เพราะถ้าขาดอาหารหรือน้ำอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้แม่หนูทำร้ายลูกหนูได้ เราจะหย่านมลูกหนูได้อายุประมาณ 1 เดือนขึ้นไปเมื่อลูกหนูกินอาหารและน้ำได้เองแล้ว ควรแยกตัวใหญ่ที่สุดก่อน ถ้าแยกแล้วก็ไม่ควรนำกลับมารวมกันอีกเพราะว่าจะทำให้แม่หนูทำร้ายลูกหนูได้

ลักษณะและพฤติกรรมนกคอคคาทู

" นกกระตั้ว " มีชื่อเป็นภาษามาเลเซียว่า " Cockatoo " แปลว่า พ่อเฒ่า หรือ คีมเหล็ก
เนื่องจากความคมกริบของจะงอยปากของเจ้านกกระตั้ว แต่เมื่อได้รับการดูแลเลี้ยงดูอย่างเหมาะสม
จะรู้ว่าเจ้านกสังคมชนิดนี้มีความน่ารักเป็นที่สุดในบรรดาสัตว์ต่างๆ โดยนกกระตั้วนั้นถือได้ว่าเป็นนกที่ฉลาดและขี้เล่น
เป็นอย่างมาก ทำให้มีผู้เลี้ยงนกชนิดนี้เพิ่มมากขึ้นเพราะหลงใหลไปความน่ารักของมัน



นกกระตั้วนั้นมีความแตกต่างจากนกแก้วในด้านรูปร่างลักษณะและพฤติกรรม ดังต่อไปนี้



รูปร่างและความแข็งแรงของจะงอยปาก

นกกระตั้วใช้จะงอยปากจิกที่ผิวหนังของมนุษย์ จะทำให้เกิดรอยถึง 3 จุดในครั้งเดียว
โดย 2 จุดแรกจะเกิดจากจะงอยปากล่าง และอีก 1 จุด เกิดจากจะงอยปากบน และนกกระตั้วยังมีแรงกัดมากอีกด้วย
ส่วนนกแก้วโดยทั่วไปจะไม่ซุกซนโดยใช้จะงอยปากเท่ากับนกกระตั้ว นกกระตั้วสามารถกัดจานอาหารพลาสติก
และราวเกาะให้หักและขาดออกจากกันได้ นอกจากนี้มันยังสามารถงอซี่ของกรงและหักข้อต่อของกรงได้อีกด้วย
ดังนั้นประตูกรงของนกกระตั้ว จึงต้องมีความแข็งแรงและปลอดภัย การเลือกข้อกรงที่มีความเหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็น
เบื้องต้นที่ต้องคำนึงถึงในการเลี้ยงนกกระตั้ว ควรหลีกเลี่ยงประตูที่สามารถเลื่อนลง เพราะขณะที่นกทำกิจกรรมต่างๆ
ในกรงอาจทำให้อุปกรณ์ในการเปิดปิดทำงาน โดยประตูจะเลื่อนขึ้นและตกลงมาใส่ตัวนกทำให้นกเกิดอันตรายได้



นกกระตั้วเป็นนกที่ฉลาดและคล่องแคล่วเป็นอย่างมาก เราจึงไม่ควรวางใจในการใช้กรงทั่วๆไปที่มีขายตามท่องตลาด
ซึ่งมีการปิดเปิดและอุปกรณ์ล็อกแบบธรรมดา เราควรเพิ่มอุปกรณ์พิเศษ เช่น คลิปสปริง
เพื่อให้แน่ใจว่านกจะไม่สามารถเปิดประตูกรงหนีไป ขณะที่เราไม่อยู่บ้าน



ขนนก

นกกระตั้วมักจะมีขนเพียงสีเดียว โดยทั่วไปแล้วจะเป็นสีขาวหรือสีดำ ซึ่งมีผงแป้งเคลือบขนอยู่ แสดงถึงสุขภาพขนที่ด
ี นกกระตั้วนั้นมีลักษณะพิเศษที่ต่างจากนกชนิดอื่นๆ คือจะมีหงอนที่สามารถขยับได้ โดยหงอนนั้นจะมีลักษณะตามชนิด
ของนกกระตั้ว เช่น หงอนที่โค้งไปด้านหลัง หรือหงอนที่โค้งไปด้านหน้า นอกจากนี้นกกระตั้วยังมีขนแก้ม
ซึ่งเมื่อลุกตั้งชันจะปกคลุมจะงอยปากและหูที่ซ่อนอยู่จนเกือบมิด ซึ่งเป็นการแสดงออกทางใบหน้าอย่างหนึ่ง
ด้วยเหตุนี้เอง นกกระตั้วจึงเป็นหนึ่งในบรรดาที่มีนกที่มีการแสดงออกทางใบหน้ามากที่สุด
โดยการแสดงออกทางใบหน้าของกระนกกระตั้ว Moluccan ตัวผู้ ไม่ว่าจะเป็นหงอน ขนใบหน้าและหูทั้งสองนั้น
อาจเกิดขึ้นถึงครึ่งหนึ่งของความสูงของมัน



ความสามารถในการเลียนแบบ

นกกระตั้วเป็นนกที่พูดเก่ง มันมีความสามารถในการเลียนแบบคำพูด โดยมันมีทักษะในการเลียนแบบ
ซึ่งมีพื้นฐานมาจากมาจากความฉลาดของมันนั่นเอง นกกระตั้วยังสามารถถูกสอนให้เต้นรำตามจังหวะร้องเพลง
เล่นโรลเลอเสก็ต หรือแม้แต่เล่นชักคะเย่อก็ได้



การปีนป่าย

นกกระตั้วเกือบจะทุกสายพันธุ์ มีความสามารถในการปีป่ายที่ยอดเยี่ยม เพราะฉะนั้นควรจะเอาสิ่งของต่างๆ
มาให้นกปีนเล่นบ้าง

การพักผ่อนและการนอนหลับ



นกที่มีสุขภาพดีจะพักผ่อนและนอนหลับโดยยืนขาเดียว อีกขาหนึ่งก็จะซุกไว้ในขนของมัน จากนั้นมันจะสลัดขนที่ตัวให้ฟู
แล้วมันก็จะหันหัวไปด้านหลังแล้วซุกหัวมันลงที่ขนด้านหลัง เมื่อมันหลับตา ตาของมันก็จะไม่ปิดสนิท







การกินและการดื่ม

นกกระตั้วจะใช้ปากและลิ้นของมัน ช่วยในการเอาเปลือกของเมล็ดพืช ผลไม้และผักออก เหมือนๆกับนกทั่วไป
นกตัวใหญ่ส่วนมากแล้วจะใช้เท้าของมันเป็นเหมือนมือ ใช้ถือเศษอาหารแล้วส่งอาหารเข้าปาก
เมื่อนกจะดื่มน้ำจะใช้จะงอยปากล่างตักน้ำ จากนั้นก็จะเงยหน้าเพื่อกลืนน้ำเข้าไป



การบิน

นกมีความสามารถในการบินที่ยอดเยี่ยม ถ้าเลี้ยงนกโดยมัดหรือผูกล่ามมันไว้
ต้องฝึกและคอยกระตุ้นให้นกกระพือปีกบ้างทุกวันจนกว่านกจะบินได้ การฝึกแบบนี้จะช่วยกระตุ้นให้นก
เกิดการเผาผลาญอาหารและป้องกันโรคดึงขนตัวเอง และการส่งเสียงร้องมากเกินกว่าปกติ



การวิ่งและการกระโดด

พื้นที่ราบหรือมีหญ้าขึ้นปกคลุมดีสำหรับเท้าของนกกระตั้วเวลาพวกมันหาอาหารบนพื้นดิน
สังเกตเห็นว่านกกระตั้วมักจะวิ่งเล่นอยู่ในสวนนกหรือในกรรรงของมันเอง เวลานกวิ่งมันก็จะตั้งตัวตรง
และเมื่อเวลามันกระโดด ลำตัวและหงอนของมันจะตั้งตัวตรงด้วยเช่นกัน



การออกกำลังกาย



นกกระตั้วที่เลี้ยงโดยมัดเอาไว้ นกก็ยังสามารถขยับตัวหรือเคลื่อนไหวตลอดทั้งวัน
ถ้าอยู่ในกรงพวกมันก็จะปีนป่ายและออกกำลังกายอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย แต่ถ้าอยู่กลางแจ้งมันก็จะปีนป่าย
คุ้ยเขี่ย กัดแทะของเล่นหรืออาหาร บินไปมา แต่ถ้าได้รับการฝึกนกก็สามารถเลียนแบบการกระทำต่างๆได้
นกชนิดนี้มีชื่อเสียงมากทางด้านความคล่องแคล่วว่องไว มีนกกระตั้วหลายตัวที่สามารถถือของได้
ผลักรถของเล่นคันเล็กๆได้ กินอาหารจากช้อน และอื่นๆอีกมากมายที่นกสามารถทำได้



การคุ้ยเขี่ย

นกกระตั้วบางพันธุ์ชอบคุ้ยเขี่ย บนพื้น บนผ้า อย่างเช่น โซฟาหรือเก้าอี้ตัวที่ดูแน่นๆ พฤติกรรมแบบนี้ได้พัฒนาไปแล้ว
เพราะพวกมันพบอาหารของตัวเองบนพื้น การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทั้งหมดเป็นไปเพื่อการหาอาหาร จะเห็นว่า
นกมีจะงอยปากที่บางและจะงอยปากด้านบนยาวกว่าด้านล่าง ซึ่งเหมาะสมกับการขุดหาอาหารนั่นเอง



ความผูกพันต่อเจ้าของ

นกกระตั้วนั้นจะผูกพันกับผู้เลี้ยงมาก การแยกจากผู้เลี้ยงนั้นจะส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของนก ทำให้นกก้าวร้าว
ผู้เลี้ยงจึงต้องให้ความสนใจเอาใจใส่ต่อนกเป็นประจำทุกวัน เมื่อนกกระตั้วผูกพันกับผู้เลี้ยงมากอาจก่อให้เกิดปัญหาดังนี้



ความก้าวร้าวของนกซึ่งเกิดจากความอิจฉาและหวงเจ้าของอาจส่งผลทำให้นกทำร้ายผู้อื่นได้

นกกระตั้วที่ติดเจ้าของมาก อาจไม่ยอมหาคู่และไม่สามารถผสมพันธุ์ได้



ความขี้เล่นและเสียงร้อง





นกกระตั้วเกือบทุกสายพันธุ์มีนิสัยขี้เล่นและมีความฉลาด นกกระตั้วสามารถเล่นเกมและออกกำลังกาย โดยการบิน
การสะบัดตัว และสามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆได้เอง โดยกิจกรรมเหล่านี้จะถูกปฏิบัติตลอดทั้งวัน โดยที่ผู้เลี้ยงไม่ขัดจังหวะ
แต่จะมีการหยุดพักเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ทั้งนี้เพื่อว่านกจะมีภาวะทางอารมณ์คงที่ ขณะที่นกกำลังเล่นจะส่งเสียงร้องที่ดังมาก
ซึ่งโดยมากนกสายพันธุ์นี้อาจเพิ่มความดังของเสียงร้องมากขึ้นได้



พฤติกรรมชอบความสบาย



เกาหัว

นกจะใช้เท้าเกาหัวตัวเองในขณะที่มันก้มหัวลง นกบางตัวจะใช้กิ่งไม้ช่วยในการเกา นกมีพฤติกรรมแปลกอยู่บ้าง
คือความลังเลทำอะไรช้า อาการเกาหัวดูเหมือนใครบางคนว่ายน้ำอยู่มากกว่า
พฤติกรรมแบบนี้มักจะพบในนกที่ยังไม่มีคู่ บาทีมันก็จะจับคู่กันแล้วไซ้ขนให้กัน



การไซ้ขน

นกกระตั้วจะไซร้ขนตัวเองวันละหลายครั้ง โดยใช้จะงอยปากดึงขนออกมาไซ้ที ละเส้นๆ การไซ้ขนเริ่มจากขนเส้นเล็กๆ
ก่อน จากนั้นก็จะขัดขนส่วนหลักๆ ส่วนรองลงมาจนถึงขนที่หาง สุดท้ายจึงจะทำความสะอาดหัวและปาก



การอาบน้ำ

นกกระตั้วทุกตัวต้องอาบน้ำ มันจะกางปีกและแผ่ขนหาง ในขณะที่อาบน้ำมันจะบิดตัว
หมุนตัวและตีปีก ด้วยเหตุนี้ขนของมันก็จะเปียกอย่างทั่วถึง



การยืดเส้นยืดสาย





การเคลื่อนไหวเพื่อให้ได้ยืดเส้นยืดสาย บ่อยครั้งจะเห็นนกหาวหลังจากที่มันพักแล้ว ปีกและขาจะถูกยืดออก
ในขณะเดียวกันหางด้านเดียวก็จะกางออก บางครั้งจะเห็นนกยกปีกทั้งสองข้างแล้วดันไปด้านหลัง
หลังจากนั้นก็จะกางปีกออก การหาวเป็นการยืดเส้นยืดสายในส่วนของจะงอยปาก และทำให้นกได้รับออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น







การดูแลจะงอยปาก

นกกระตั้วจะเอาสิ่งสกปรกและเศษอาหารออกจากจะงอยปากของมัน โดยการถูจะงอยปากของตัวเองกับสิ่งที่มีพื้นผิวที่หยาบ
เวลานกถูปากมันจะถูด้วยความรุนแรง ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่นกทำอยู่บ่อยๆ



พฤติกรรมทางสังคม

ก่อการเริ่มมีเพศสัมพันธ์ นกกระตั้วจะมีการพัฒนา ติดต่อกันทางด้านสังคม ซึ่งนำมาซึ่งเรื่องของการจับคู่ต่อไป
แบบแผนของพฤติกรรมในการจีบ ช่วยสนับสนุนให้มีการสร้างคู่รัก ( คู่รัก ) ขึ้นมา นกตัวเมียที่ยังไม่มีประสบการณ์
พฤติกรรมการจีบโดยที่นกจะใช้วิธีการแบบจู่โจม



พฤติกรรมการโอ้อวดตัวเอง





พฤติกรรมการโอ้อวดตัวเอง เป็นวิธีการแบบแรกที่นกมักจะใช้กัน นั่นคือตัวผู้จะโชว์รูปร่างของตัวเอง
ให้ตัวเมียที่ตัวเองสนใจดู ตัวผู้จะกางขนหาง กางปีก ทำขนให้ฟู บางครั้งก็จะรำแพนขนบนใบหน้า
ขนที่หูและหงอนก็จะตั้งชัน พฤติกรรมแบบนี้ ในบางครั้งก็จะใช้ขู่ หรือเตือนคู่ต่อสู้ให้ออกห่างจากตัวเมีย
ในคราวแรกตัวเมียจะขับไล่ตัวผู้ แต่ตัวผู้จะพยายามที่จะเข้าใกล้ตัวเมีย และคอยหลีกเลี่ยงการผสมพันธุ์กับตัวเมีย
แต่อย่างไรก็ตาม ตัวเมียก็ยังยอมให้ตัวผู้เข้าใกล้ได้บ้าง



การไซ้ขนให้กัน

ในช่วงที่เกาให้กันอยู่นั้น เหมือนเป็นการพิสูจน์ดูว่าตัวผู้ล่วงละเมิดตัวเมียหรือไม่
แล้วหลังจากนั้นการติดต่อกันเองของนกก็จะเพิ่มจำนวนความถี่มากขึ้นจนกว่าการผสมพันธุ์จะเกิดขึ้น



การผสมพันธุ์กัน

ระหว่างการผสมพันธุ์ ตัวผู้จะขึ้นขี่ตัวเมีย แล้วมันก็จะผสมพันธุ์กันจนกระทั่งแล้วเสร็จ
มีหลายครั้งที่ตัวเมียเป็นฝ่ายเชื้อเชิญให้ตัวผู้มาผสมพันธุ์กับตัวเอง



พฤติกรรมการเตือนภัย

พฤติกรรมในการเตือนภัย ดูแล้วคล้ายๆ กับพฤติกรรมในการใช้โอ้อวดตัวเมีย แต่การที่มันขบจะงอยปากพร้อมกับส่งเสียง
( ก้มตัว ยกหาง กางขน)